02-056-3333
การบริการสำหรับผู้ป่วย> เทคโนโลยีวิวัฒนาการเครื่องมือแพทย์และการผ่าตัด

การรักษาดวงตาด้วยเทคโนโลยี
ที่มีประสิทธิภาพ

ผู้บุกเบิกในการนำเทคโนโลยีที่รุดหน้า
เพื่อใช้ในการรักษาดวงตา

2507
2512
2526
2534
2535
2538
2542
2545
2546
2548
2548
2549
2549
2550
2551
2551
2552
2555
2556
2561
2561
2562
2562
2562
INDIRECT OPHTHALMOSCOPE

พ.ศ. 2507 :
INDIRECT OPHTHALMOSCOPE

ศ.นพ. อุทัย รัตนิน จักษุแพทย์ผู้นำการผ่าตัดรักษาโรคจอประสาทตาหลุดมาใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2507 โดยการตรวจจอประสาทตา ร่วมกับการใช้เครื่องมือ Indirect Ophthalmoscope ซึ่งยังคงเป็นพื้นฐานการตรวจและรักษาโรคทางจอประสาทตาจนถึงทุกวันนี้

RUBY LASER

พ.ศ. 2512 :
RUBY LASER

จักษุ รัตนินเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตาเอกชน ที่เริ่มนำเลเซอร์มาใช้ในการรักษาโรคตา และภายในปีเดียวกันได้นำเสนอวิธีลอกต้อเนื้อ โดยปลูกเนื้อเยื่อทดแทน ซึ่งลดโอกาส การงอกใหม่ของต้อเนื้อ จากเดิม 40-50% เหลือเพียง 5-10%

ARGON LASER

พ.ศ. 2526 :
ARGON LASER

เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตาเอกชน ที่ได้นำการใช้ Argon เลเซอร์ รักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527

PHACO (Ultrasound Treatment of Cataracts)

พ.ศ. 2534 :
PHACO
(Ultrasound Treatment
of Cataracts)

เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตาเอกชน ผู้เริ่มใช้วิธีการสลายต้อกระจกด้วยอัลตร้าซาวด์ หรือ เฟโค ปัจจุบันวิธีนี้ได้รับความนิยมไปทั่วโลก

EXCIMER LASER

พ.ศ. 2535 :
EXCIMER LASER

เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลเฉพาะทางตา ที่นำ Excimer เลเซอร์ มาใช้ในการรักษาสายตาสั้นยาว และเอียง ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2536

CORAL EYE IMPLANT

พ.ศ. 2538 :
CORAL EYE IMPLANT

เป็นโรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางตา ที่เริ่มใช้ตาปลอมที่ทำจากปะการัง ซึ่งให้การเคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติคล้ายลูกตาจริงตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539

PHAKIC INTRAOCULAR

พ.ศ. 2542 :
PHAKIC INTRAOCULAR
LENS

เป็นโรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางตา ที่เริ่มการใช้เลนส์เสริม (Phakic Intraocular Lens) เพื่อรักษาผู้ที่มีสายตาสั้น ยาว และเอียง มากเกินกว่าจะทำเลสิคได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543

DALK

พ.ศ. 2545 :
DALK

เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตา ที่เริ่มทำการเปลี่ยนกระจกตาเฉพาะชั้น
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นการพัฒนา จากการผ่าตัดแบบดั่งเดิมที่ต้องเปลี่ยนกระจกตาแบบทั้งชั้นกระจกตา ซึ่งได้ทำการเปลี่ยนกระจกตาเฉพาะส่วนหน้าเท่านั้น
ที่เรียกว่า Deep anterior lamellar keratoplasty (DALK) ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วย
ที่มีความผิดปกติของกระจกตาส่วนหน้าเท่านั้น เช่นกรณีเป็นแผลเป็นของกระจกตา กระจกตาขุ่นจากการสะสมของสารบางอย่างในกระจกตาซึ่งเกิดจากโรคทางพันธุกรรม กระจกตาโป่งขั้นรุนแรง โดยจะนำเอากระจกตาส่วนหน้าออกทั้งสามชั้น เหลือเฉพาะกระจกตาส่วนหลังชั้นที่ 4 และ 5 และเอากระจกตาใหม่ชั้น 1-3
(ส่วนหน้า) ใส่เข้าไปแทน โดยที่จะมีไหมเย็บ เช่นเดียวกับวิธีดั้งเดิม แต่แผลจะแข็งแรงกว่ามากเมื่อเทียบกับวิธีดั้งเดิม ถือว่าเป็นการผ่าตัดนอกลูกตา ที่มีโอกาสเกิดภาวะต้านกระจกตาน้อยกว่าวิธีแรกมาก

OPTICAL COHERENT TOPOGRAPHY

พ.ศ. 2546 :
OPTICAL COHERENT TOPOGRAPHY

เป็นโรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางตา ที่ใช้ Optical Coherent Topography ซึ่งเป็นนวัตกรรมในการวินิจฉัย ติดตามผลระยะยาวของโรคต้อหิน
และโรคจอประสาทตาในแนวลึก ได้ละเอียดถึง 10 ไมครอน (0.01 มิลลิเมตร)

PREMIUM IOL

พ.ศ. 2548 :
PREMIUM IOL

เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตาที่ทำการผ่าตัดต้อกระจกแผลเล็ก ร่วมกับการใช้เลนส์แก้วตาเทียมชนิดแก้เอียง ชั้นเดียว สองชั้น และสามชั้น ทำให้เพิ่มการมองเห็นได้ชัดเจนด้วยตาเปล่าในหลายระยะ โดยก่อนการผ่าตัดแพทย์จะพิจารณาคัดกรอง
ผู้ป่วยอย่างถี่ถ้วนกับความเหมาะสม ในการเลือกใช้เลนส์แก้วตาเทียมแบบพรีเมี่ยม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549

ENDOSCOPIC DCR

พ.ศ. 2548 :
ENDOSCOPIC DCR

เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตา ที่ใช้เทคนิค Endoscopic DCR ผ่าตัดท่อน้ำตาอุดตัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยการส่องกล้องขนาดเล็กเข้าไปในช่องโพรงจมูกเพื่อผ่าตัดทางเชื่อมระบบท่อน้ำตาและโพรงจมูก ทำให้ไม่มีแผลจากภายนอก

MULTIFOCAL LENS

พ.ศ. 2549 :
MULTIFOCAL LENS

จักษุ รัตนินเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตา ที่เริ่มนำเลนส์แก้วตาเทียมชนิดโฟกัสหลายระยะ (Multifocal Lens) เข้ามารักษาผู้ป่วยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยรักษาผู้ที่มีสายตาสั้นหรือยาวและมีสายตายาวสูงอายุร่วมด้วย รวมทั้งเป็นต้อกระจกในคราวเดียวกัน ทำให้มองเห็นชัดทั้งใกล้และไกลโดยไม่ต้องสวมแว่นตา

FERRARA RING

พ.ศ. 2549 :
FERRARA RING

เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตา ในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเซียตะวันออก
เฉียงใต้ (Southeast Asia) ที่เริ่มรักษาโรคกระจกตาโป่ง ด้วยวิธีใส่
วงแหวน “เฟอร์ราร่าริง” (Ferrara Ring) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เพื่อปรับโครงสร้างกระจกตาและเพิ่มความแข็งแรงให้โรคกระจกตาโป่งหรือย้วยและหยุดยั้งการดำเนินของโรคทำให้ลดความจำเป็นของการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา

HRA-2

พ.ศ. 2550 :
HRA-2

เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตา ที่ใช้เทคโนโลยี HRA-2 เพื่อตรวจวิเคราะห์และ
ถ่ายภาพจอประสาทตาด้วยแสงเลเซอร์ ซึ่งสามารถเก็บรายละเอียดเส้นเลือดและ
การไหลเวียนของเลือดในจอประสาทตา ได้ละเอียดคมชัดกว่าการถ่ายภาพด้วย
แสงแฟลช

DSAEK

พ.ศ. 2551 :
DSAEK

ทำการเปลี่ยนกระจกตาด้วยวิธีใหม่ที่เรียกว่า Descemet’s Strippling Automated Endothelial keratoplasty (DSAEK) ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เป็นการเปลี่ยนกระจกตาส่วนหลังแบบใส่ด้านหลังของกระจกตาส่วนหน้าเข้าไปด้วย มีแผลผ่าตัดเล็กเพียง 5 มม. ซึ่งเล็กกว่าแผลจากการวเปลี่ยนทั้งชั้นของกระจกตา และมีแผลที่แข็งแรงกว่า ฟื้นตัวได้เร็วกว่าเช่นกัน

PASCAL

พ.ศ. 2551 :
PASCAL

เป็นโรงพยาบาลแห่งแรก ที่นำเครื่องรักษาโรคจอประสาทตาด้วยเลเซอร์ ชนิดลำแสงสีเขียวแบบ Pattern Scan (PASCAL)มาใช้ ซึ่งสามารถปล่อยแสงเลเซอร์ได้หลายจุดในการยิงแต่ละครั้ง สามารถประหยัดเวลาและลดอาการระคายเคือง

CONSTELLATION SYSTEM

พ.ศ. 2552 :
CONSTELLATION SYSTEM

เป็นโรงพยาบาลแห่งแรก ที่ใช้เทคโนโลยี ระบบ Constellation เพื่อการผ่าตัดน้ำวุ้นและจอประสาทตาอย่างครบวงจร ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง เพิ่มความเร็ว ละเอียด แม่นยำ ลดขนาดแผล และมีความปลอดภัยสูง

DMEK

พ.ศ. 2555 :
DMEK

เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตาที่ทำการบุกเบิกการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาด้วย
วิธีใหม่เฉพาะชั้นที่เรียกว่า Descemet’s Membrane Endothelial Keratoplasty (DMEK) ได้สำเร็จ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนกระจกตาเฉพาะผิวด้านหลังเท่านั้น ซึ่งมี
ความบางเพียง 10 ไมครอน (1,000 ไมครอน = 1 มิลลิเมตร) แผลผ่าตัดเล็ก
เพียง 3-4 มิลลิเมตรและการฟื้นตัวของแผลและสายตาเร็วประมาณ 4 สัปดาห์หรือเร็วกว่า และรายงานวารสารทางการแพทย์จากสหรัฐอเมริกา ได้ระบุว่าโอกาสเกิดการต่อต้านกระจกตาน้อยกว่าวิธีเปลี่ยนทั้งชั้นของกระจกตา ถึง 15-20 เท่า
จึงนับว่าเป็นวิธีที่ได้ผลดีมากสำหรับการรักษาโรคกระจกตาบวมที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นในสุดของกระจกตา (Endothelial) โดยเฉพาะกระจกตาเสื่อม Fuchs Dystrophy

OPTOS

พ.ศ. 2556 :
OPTOS

เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตาที่เริ่มนำกล้องถ่ายภาพและตรวจวิเคราะห์ระบบการไหลเวียนของเส้นเลือดในจอประสาทตาด้วยระบบเลเซอร์สแกน (OPTOS) มาใช้เพื่อตรวจวิเคราะห์จอประสาทตาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยสามารถถ่ายภาพจอประสาทตาได้กว่าถึง 200 องศา ซึ่งหากใช้กล้องถ่ายทั่วไปจะถ่ายได้แค่ 50 องศา เท่านั้น และผู้ป่วย ไม่ต้องหยอดยาขยายม่านตาก่อนถ่ายภาพ แต่ถ้ามีการหยอดยา ขยายม่านตาก็จะทำให้ได้ภาพที่ละเอียดมากขึ้น และสามารถถ่ายภาพ เพื่อวิเคราะห์ความผิดปกติในชั้นต่างๆ ของจอประสาทตาได้ถึงชั้นใต้สุด (คอรอยด์ - Choroid)
ซึ่งหากใช้กล้องถ่ายทั่วไปจะถ่ายได้แค่ชั้นผิวบนของจอประสาทตาเท่านั้น

Pentacam

พ.ศ. 2561 :
Pentacam

เครื่องวิเคราะห์พื้นผิวกระจกตาแบบแผนภูมิช่วยวิเคราะห์ระดับและความโค้งกระจกตา ซึ่งทำให้ง่ายต่อวินิจฉัยโรคในกลุ่มที่ต้องเปลี่ยนกระจกตาหรือผู้ป่วยต้อกระจกที่ต้องใส่ เลนส์เทียมแก้ไขสายตาเอียง ซึ่งจะได้ค่าของผลการตรวจที่แม่นยำมากขึ้น

OPD Scan

พ.ศ. 2561 :
OPD Scan

เครื่องช่วยตรวจวิเคราะห์สภาพของดวงตาส่วนหน้า (Anterior Segment) และพื้นผิวกระจกตาเพื่อวิเคราะห์โรคทางกระจกตา เช่น โรคกระจกตาโป่ง เป็นต้น

OPTOS California

พ.ศ. 2562 :
OPTOS California

เครื่องถ่ายภาพเพื่อตรวจวิเคราะห์ระบบการไหลเวียนของเส้นเลือดใน
จอประสาทตาด้วยระบบเลเซอร์สแกนรุ่นใหม่ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานจากเครื่องรุ่นเดิมในการ วิเคราะห์เส้นเลือดในจอประสาทตาและใต้ชั้นจอประสาทตา
(คอรอยด์ - Choroid) ด้วยการฉีดสี FFA และ ICG

IOL Master 700

พ.ศ. 2562 :
IOL Master 700

นำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของเครื่องวัดเลนส์แก้วตาเทียมแบบไม่สัมผัสตา ที่มีความ แม่นยำในการวัดเลนส์แก้วตาเทียมสำหรับการผ่าตัดสลายต้อกระจก ด้วยระบบแสดง ภาพตัดขวางดวงตา ตั้งแต่ กระจกตา เลนส์ตา และจอประสาทตา เพื่อเป็นการวิเคราะห์ ส่วนต่างๆ ภายในลูกตาและตรวจสอบความถูกต้องของผลที่วัดได้ โดย
สามารถเชืื่อมต่อระบบส่งข้อมูลกับกล้อง Callisto ในห้องผ่าตัดแบบ Real Time

Callisto

พ.ศ. 2562 :
Callisto

เครื่องบอกตำแหน่งองศาสายตาเอียงด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในการใส่
เลนส์เทียม สำหรับการผ่าตัดสลายต้อกระจกและแก้ไขสายตาเอียงในคราวเดียวกัน ด้วยระบบเชื่อม ต่อส่งข้อมูลจากเครื่อง IOL Master 700 เพื่อนำค่าที่วัดได้แสดงตำแหน่งองศาในกล่อง ผ่าตัดที่แพทย์ใช้ในระหว่างการผ่าตัด ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับแพทย์ผู้ผ่าตัด ในการบอกตำแหน่งการใส่เลนส์เทียมให้ได้องศา ที่จะสามารถแก้ไขสายตาเอียงได้อย่าง แม่นยำยิ่งขึ้น