ผู้บุกเบิกในการนำเทคโนโลยีที่รุดหน้า
เพื่อใช้ในการรักษาดวงตา
ศ.นพ. อุทัย รัตนิน จักษุแพทย์ผู้นำการผ่าตัดรักษาโรคจอประสาทตาหลุดมาใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2507 โดยการตรวจจอประสาทตา ร่วมกับการใช้เครื่องมือ Indirect Ophthalmoscope ซึ่งยังคงเป็นพื้นฐานการตรวจและรักษาโรคทางจอประสาทตาจนถึงทุกวันนี้
จักษุ รัตนินเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตาเอกชน ที่เริ่มนำเลเซอร์มาใช้ในการรักษาโรคตา และภายในปีเดียวกันได้นำเสนอวิธีลอกต้อเนื้อ โดยปลูกเนื้อเยื่อทดแทน ซึ่งลดโอกาส การงอกใหม่ของต้อเนื้อ จากเดิม 40-50% เหลือเพียง 5-10%
เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตาเอกชน ที่ได้นำการใช้ Argon เลเซอร์ รักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527
เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตาเอกชน ผู้เริ่มใช้วิธีการสลายต้อกระจกด้วยอัลตร้าซาวด์ หรือ เฟโค ปัจจุบันวิธีนี้ได้รับความนิยมไปทั่วโลก
เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลเฉพาะทางตา ที่นำ Excimer เลเซอร์ มาใช้ในการรักษาสายตาสั้นยาว และเอียง ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2536
เป็นโรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางตา ที่เริ่มใช้ตาปลอมที่ทำจากปะการัง ซึ่งให้การเคลื่อนไหวเป็นธรรมชาติคล้ายลูกตาจริงตั้งแต่ปีพ.ศ. 2539
เป็นโรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางตา ที่เริ่มการใช้เลนส์เสริม (Phakic Intraocular Lens) เพื่อรักษาผู้ที่มีสายตาสั้น ยาว และเอียง มากเกินกว่าจะทำเลสิคได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543
เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตา ที่เริ่มทำการเปลี่ยนกระจกตาเฉพาะชั้น
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นการพัฒนา จากการผ่าตัดแบบดั่งเดิมที่ต้องเปลี่ยนกระจกตาแบบทั้งชั้นกระจกตา ซึ่งได้ทำการเปลี่ยนกระจกตาเฉพาะส่วนหน้าเท่านั้น
ที่เรียกว่า Deep anterior lamellar keratoplasty (DALK) ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ป่วย
ที่มีความผิดปกติของกระจกตาส่วนหน้าเท่านั้น เช่นกรณีเป็นแผลเป็นของกระจกตา กระจกตาขุ่นจากการสะสมของสารบางอย่างในกระจกตาซึ่งเกิดจากโรคทางพันธุกรรม กระจกตาโป่งขั้นรุนแรง
โดยจะนำเอากระจกตาส่วนหน้าออกทั้งสามชั้น เหลือเฉพาะกระจกตาส่วนหลังชั้นที่ 4 และ 5 และเอากระจกตาใหม่ชั้น 1-3
(ส่วนหน้า) ใส่เข้าไปแทน โดยที่จะมีไหมเย็บ เช่นเดียวกับวิธีดั้งเดิม แต่แผลจะแข็งแรงกว่ามากเมื่อเทียบกับวิธีดั้งเดิม ถือว่าเป็นการผ่าตัดนอกลูกตา ที่มีโอกาสเกิดภาวะต้านกระจกตาน้อยกว่าวิธีแรกมาก
เป็นโรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางตา ที่ใช้ Optical Coherent Topography ซึ่งเป็นนวัตกรรมในการวินิจฉัย ติดตามผลระยะยาวของโรคต้อหิน
และโรคจอประสาทตาในแนวลึก ได้ละเอียดถึง 10 ไมครอน (0.01 มิลลิเมตร)
เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตาที่ทำการผ่าตัดต้อกระจกแผลเล็ก ร่วมกับการใช้เลนส์แก้วตาเทียมชนิดแก้เอียง ชั้นเดียว สองชั้น และสามชั้น ทำให้เพิ่มการมองเห็นได้ชัดเจนด้วยตาเปล่าในหลายระยะ โดยก่อนการผ่าตัดแพทย์จะพิจารณาคัดกรอง
ผู้ป่วยอย่างถี่ถ้วนกับความเหมาะสม ในการเลือกใช้เลนส์แก้วตาเทียมแบบพรีเมี่ยม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549
เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตา ที่ใช้เทคนิค Endoscopic DCR ผ่าตัดท่อน้ำตาอุดตัน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยการส่องกล้องขนาดเล็กเข้าไปในช่องโพรงจมูกเพื่อผ่าตัดทางเชื่อมระบบท่อน้ำตาและโพรงจมูก ทำให้ไม่มีแผลจากภายนอก
จักษุ รัตนินเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตา ที่เริ่มนำเลนส์แก้วตาเทียมชนิดโฟกัสหลายระยะ (Multifocal Lens) เข้ามารักษาผู้ป่วยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 โดยรักษาผู้ที่มีสายตาสั้นหรือยาวและมีสายตายาวสูงอายุร่วมด้วย รวมทั้งเป็นต้อกระจกในคราวเดียวกัน ทำให้มองเห็นชัดทั้งใกล้และไกลโดยไม่ต้องสวมแว่นตา
เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตา ในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเซียตะวันออก
เฉียงใต้ (Southeast Asia) ที่เริ่มรักษาโรคกระจกตาโป่ง ด้วยวิธีใส่
วงแหวน “เฟอร์ราร่าริง” (Ferrara Ring) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เพื่อปรับโครงสร้างกระจกตาและเพิ่มความแข็งแรงให้โรคกระจกตาโป่งหรือย้วยและหยุดยั้งการดำเนินของโรคทำให้ลดความจำเป็นของการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตา
เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตา ที่ใช้เทคโนโลยี HRA-2 เพื่อตรวจวิเคราะห์และ
ถ่ายภาพจอประสาทตาด้วยแสงเลเซอร์ ซึ่งสามารถเก็บรายละเอียดเส้นเลือดและ
การไหลเวียนของเลือดในจอประสาทตา ได้ละเอียดคมชัดกว่าการถ่ายภาพด้วย
แสงแฟลช
ทำการเปลี่ยนกระจกตาด้วยวิธีใหม่ที่เรียกว่า Descemet’s Strippling Automated Endothelial keratoplasty (DSAEK) ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เป็นการเปลี่ยนกระจกตาส่วนหลังแบบใส่ด้านหลังของกระจกตาส่วนหน้าเข้าไปด้วย มีแผลผ่าตัดเล็กเพียง 5 มม. ซึ่งเล็กกว่าแผลจากการวเปลี่ยนทั้งชั้นของกระจกตา และมีแผลที่แข็งแรงกว่า ฟื้นตัวได้เร็วกว่าเช่นกัน
เป็นโรงพยาบาลแห่งแรก ที่นำเครื่องรักษาโรคจอประสาทตาด้วยเลเซอร์ ชนิดลำแสงสีเขียวแบบ Pattern Scan (PASCAL)มาใช้ ซึ่งสามารถปล่อยแสงเลเซอร์ได้หลายจุดในการยิงแต่ละครั้ง สามารถประหยัดเวลาและลดอาการระคายเคือง
เป็นโรงพยาบาลแห่งแรก ที่ใช้เทคโนโลยี ระบบ Constellation เพื่อการผ่าตัดน้ำวุ้นและจอประสาทตาอย่างครบวงจร ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง เพิ่มความเร็ว ละเอียด แม่นยำ ลดขนาดแผล และมีความปลอดภัยสูง
เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตาที่ทำการบุกเบิกการผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาด้วย
วิธีใหม่เฉพาะชั้นที่เรียกว่า Descemet’s Membrane Endothelial Keratoplasty (DMEK)
ได้สำเร็จ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนกระจกตาเฉพาะผิวด้านหลังเท่านั้น ซึ่งมี
ความบางเพียง 10 ไมครอน (1,000 ไมครอน = 1 มิลลิเมตร) แผลผ่าตัดเล็ก
เพียง 3-4 มิลลิเมตรและการฟื้นตัวของแผลและสายตาเร็วประมาณ 4 สัปดาห์หรือเร็วกว่า และรายงานวารสารทางการแพทย์จากสหรัฐอเมริกา
ได้ระบุว่าโอกาสเกิดการต่อต้านกระจกตาน้อยกว่าวิธีเปลี่ยนทั้งชั้นของกระจกตา ถึง 15-20 เท่า
จึงนับว่าเป็นวิธีที่ได้ผลดีมากสำหรับการรักษาโรคกระจกตาบวมที่เกิดจากความผิดปกติของชั้นในสุดของกระจกตา (Endothelial) โดยเฉพาะกระจกตาเสื่อม Fuchs Dystrophy
เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางตาที่เริ่มนำกล้องถ่ายภาพและตรวจวิเคราะห์ระบบการไหลเวียนของเส้นเลือดในจอประสาทตาด้วยระบบเลเซอร์สแกน (OPTOS)
มาใช้เพื่อตรวจวิเคราะห์จอประสาทตาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยสามารถถ่ายภาพจอประสาทตาได้กว่าถึง 200 องศา
ซึ่งหากใช้กล้องถ่ายทั่วไปจะถ่ายได้แค่ 50 องศา เท่านั้น และผู้ป่วย ไม่ต้องหยอดยาขยายม่านตาก่อนถ่ายภาพ
แต่ถ้ามีการหยอดยา ขยายม่านตาก็จะทำให้ได้ภาพที่ละเอียดมากขึ้น และสามารถถ่ายภาพ เพื่อวิเคราะห์ความผิดปกติในชั้นต่างๆ
ของจอประสาทตาได้ถึงชั้นใต้สุด (คอรอยด์ - Choroid)
ซึ่งหากใช้กล้องถ่ายทั่วไปจะถ่ายได้แค่ชั้นผิวบนของจอประสาทตาเท่านั้น
เครื่องวิเคราะห์พื้นผิวกระจกตาแบบแผนภูมิช่วยวิเคราะห์ระดับและความโค้งกระจกตา ซึ่งทำให้ง่ายต่อวินิจฉัยโรคในกลุ่มที่ต้องเปลี่ยนกระจกตาหรือผู้ป่วยต้อกระจกที่ต้องใส่ เลนส์เทียมแก้ไขสายตาเอียง ซึ่งจะได้ค่าของผลการตรวจที่แม่นยำมากขึ้น
เครื่องช่วยตรวจวิเคราะห์สภาพของดวงตาส่วนหน้า (Anterior Segment) และพื้นผิวกระจกตาเพื่อวิเคราะห์โรคทางกระจกตา เช่น โรคกระจกตาโป่ง เป็นต้น
เครื่องถ่ายภาพเพื่อตรวจวิเคราะห์ระบบการไหลเวียนของเส้นเลือดใน
จอประสาทตาด้วยระบบเลเซอร์สแกนรุ่นใหม่ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานจากเครื่องรุ่นเดิมในการ วิเคราะห์เส้นเลือดในจอประสาทตาและใต้ชั้นจอประสาทตา
(คอรอยด์ - Choroid) ด้วยการฉีดสี FFA และ ICG
นำเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของเครื่องวัดเลนส์แก้วตาเทียมแบบไม่สัมผัสตา ที่มีความ
แม่นยำในการวัดเลนส์แก้วตาเทียมสำหรับการผ่าตัดสลายต้อกระจก ด้วยระบบแสดง
ภาพตัดขวางดวงตา ตั้งแต่ กระจกตา เลนส์ตา และจอประสาทตา เพื่อเป็นการวิเคราะห์
ส่วนต่างๆ ภายในลูกตาและตรวจสอบความถูกต้องของผลที่วัดได้ โดย
สามารถเชืื่อมต่อระบบส่งข้อมูลกับกล้อง Callisto ในห้องผ่าตัดแบบ Real Time
เครื่องบอกตำแหน่งองศาสายตาเอียงด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในการใส่
เลนส์เทียม
สำหรับการผ่าตัดสลายต้อกระจกและแก้ไขสายตาเอียงในคราวเดียวกัน ด้วยระบบเชื่อม
ต่อส่งข้อมูลจากเครื่อง IOL Master 700 เพื่อนำค่าที่วัดได้แสดงตำแหน่งองศาในกล่อง
ผ่าตัดที่แพทย์ใช้ในระหว่างการผ่าตัด ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับแพทย์ผู้ผ่าตัด
ในการบอกตำแหน่งการใส่เลนส์เทียมให้ได้องศา ที่จะสามารถแก้ไขสายตาเอียงได้อย่าง
แม่นยำยิ่งขึ้น
เครื่องวัดความเข้มข้นของน้ำตา (The Tear Lab Osmolarity System) เป็นเครื่องตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยภาวะตาแห้งด้วยการวัดความเข้มขนของน้ำตา
ด้วย
อิเลคโทรดแผ่นไมโครชิปที่มีความไวและความละเอียดสูง
เครื่องทำความสะอาดเปลือกตาและขนตา (BlephEX Device) เป็นเครื่องที่ใช้ในการรักษาภาวะเปลือกตาอักเสบ (Blepharitis) ใช้ร่วมกับ Medical grade micro-sponge ที่สามารถขจัดตัวไรที่ขนตาออกได้ ช่วยทำความสะอาดและช่วยทำให้สุขภาพโดยรวมของเปลือกตาแข็งแรงขึ้น
เครื่อง E>Eye (IRPL Indirect) เครื่องกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมันที่เปลือกตาด้วยเทคโนโลยีพลังงานแสง IRPL
เครื่อง OCT ZEISS CIRRUS 6000 เป็นเครื่องตรวจวิเคราะห์โรคจอประสาทตาและโรคต้อหิน โดยการถ่ายภาพตัดขวางที่จอประสาทตาและขั้วประสาทตาด้วยเลเซอร์ เครื่องมือถ่ายภาพจอประสาทตาในลักษณะตัดขวางในแนวลึก ช่วยให้จักษุแพทย์เห็นความหนาของชั้นจอประสาทตาและความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้อย่างละเอียด อีกทั้งยังมีฟังก์ชั่นการถ่ายรูปเพื่อดูลักษณะของเส้นเลือดที่จอประสาทตา (OCT Angiography) โดยไม่ต้องฉีดสีได้อีกด้วย
เครื่อง Eye Light (OPE Indirect + LLLT Direct) เป็นเครื่องกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมันที่เปลือกตา (Meibomian Gland)
เพื่อใช้ในการรักษาโรคตาแห้ง โรคเปลือกตาอักเสบ ตากุ้งยิง ด้วยพลังงานแสง 2 เทคโนโลยี คือ
1. OPE (Optimal Power Energy) หรือ IPL (Intense Pulse Light) พลังงานแสงความยาวคลื่น 600 นาโนเมตร โดยไม่ต้องใช้เจล
2. LLLT (Low Level Light Therapy) เป็นหน้ากากประกอบด้วยหลอด LED สีแดง พลังงานแสงความยาวคลื่น 622 นาโนเมตร