เมื่อแรกเกิด เด็กยังมองเห็นได้ไม่ชัดเท่ากับผู้ใหญ่ แต่จะค่อยๆมีพัฒนาการมองเห็นจากลางๆ
ไปจนเห็นได้ชัดเจนเท่ากับสายตาผู้ใหญ่ เมื่อมีอายุเฉลี่ยประมาณ 4-5 ปี
พฤติกรรมการมองเห็นของเด็กในแต่ละวัยสามารถสังเกตได้ตามช่วงอายุ ดังนี้
สายตาสั้นในเด็ก
สายตาสั้นเกิดจาก ? การที่ลูกตายาวกว่าระยะโฟกัส
โดยอาจมีสาเหตุจาก กรรมพันธุ์โรคตาบางชนิด หรือ
เป็นผลจากพฤติกรรมที่เด็กใช้สายตามองในระยะใกล้เป็นเวลานาน
ข้อเสียของสายตาสั้น คือ ?
ทำ
ให้เด็กมองเห็นไม่ชัด จะมากน้อยแค่ไหน
ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสายตาสั้น ถ้าสายตาสั้นไม่มาก เด็กจะมองไม่ชัดเฉพาะเวลามองไกล
เช่น มองกระดาน แต่เมื่อเวลามองใกล้ เช่น อ่านหนังสือ จะยังเห็น
ได้ดีอยู่
แต่ถ้าสายตาสั้นมากจะ
ทำ
ให้มองไม่ชัดทั้งระยะไกลและใกล้
ไม่ว่าจะเป็นข้างเดียวหรือสองข้างอาจ
ทำ
ให้เกิดสายตาขี้เกียจได้
ซึ่งสายตาขี้เกียจคือการที่ระบบพัฒนาการของการมองเห็นในสมองของเด็ก
ไม่ได้พัฒนาเต็มที่
เนื่องจากมองไม่ชัดในตาข้างนั้นๆมานาน ส่งผลให้ตามัวมากขึ้นกว่าเดิม
และมักจะรักษาไม่ได้อีกเลยเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ดังนั้น เด็กที่มีสายตาสั้นรุนแรงจึง
จำเป็นต้องได้รับการรักษาทันที
และการที่เด็กมองไม่ชัดนานๆ อาจ
ทำ
ให้เกิดตาเหล่ได้ด้วย นอกจากนี้
การที่มีสายตาสั้นรุนแรงจะ
ทำ
ให้จอประสาทตาบางลง
ผู้ป่วยจะมีความเสี่ยงที่จะเกิด
โรคของจอประสาทตาสูงกว่าคนทั่วไป
เช่น
จอประสาทฉีกขาด จอประสาทตาหลุดลอก จุดรับภาพผิดปกติ เป็นต้น
อาการที่ให้สงสัยว่าสายตาสั้น ?
นอกจากการมองไม่ชัดแล้ว การหยีตามอง เอียงคอมอง ชอบดูโทรทัศน์ใกล้ๆ
ก้มลงอ่านหนังสือใกล้ๆ
ก็เป็นสัญญาณ
ว่าเด็กมองเห็นไม่ชัด
ทั้งนี้เด็กที่มีสายตาสั้นมากข้างเดียวมักไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ
เตรียมตัวก่อนไปตรวจ ?
การตรวจวัดสายตานั้น จักษุแพทย์อาจจำเป็นต้องหยอดยาขยายม่านตาให้เด็กคลายการเพ่งด้วย
ซึ่งจะ
ส่งผลให้หลังจากที่ตรวจเสร็จแล้วเด็กจะมีตามัวเล็กน้อยและสู้แสงไม่ได้ไป
2 วัน ดังนั้น
ผู้ปกครองควรนัดเด็กมาตรวจในช่วงที่ไม่ได้มีการสอบสำคัญใดๆหรือไม่มีกิจกรรมกลางแจ้งใน
2 วัน ถัดไป สำหรับเด็กเล็กอายุ 2 ขวบครึ่ง ถึง 5 ขวบ
ที่ยังอ่านตัวเลขได้ไม่คล่อง แนะนำให้
ผู้ปกครองฝึกให้เด็กรู้จักรูปภาพที่ใช้ในการตรวจมาก่อน
สายตาสั้นรักษาอย่างไร ?
การรักษาสายตาสั้นขึ้นกับความรุนแรง
เด็กที่มีสายตาสั้นเพียงเล็กน้อยอาจไม่ต้องรักษาแต่ต้องได้รับการตรวจติดตามไปก่อน
สำหรับเด็กที่มีสายตาสั้นมาก ที่มีผลต่อการมองเห็นแล้วจำเป็นต้องใส่แว่น
การใส่คอนแทคเลนส์ ไม่นิยมในเด็กและการ
ทำ
เลเซอร์แก้ไขสายตายังไม่สามารถ
ทำ
ได้เนื่องจากต้องรอให้เป็นผู้ใหญ่และสายตาคงที่เสียก่อน
ธรรมชาติของสายตาสั้น ?
สายตาสั้นในเด็กจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เนื่องจากลูกตาจะขยายขนาดขึ้นตามธรรมชาติ โดยจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.50
ไดออฟเตอร์
ต่อปีและจะเพิ่มขึ้นน้อยลงเมื่อเป็นผู้ใหญ่
เด็กมีสายตาสั้นเพิ่มขึ้นเร็วมาก เป็นจากอะไรและทำ
อย่างไรดี ?
เด็กบางคนมีสายตาสั้นเพิ่มขึ้นเร็วมาก
นอกจากปัจจัยทางด้านพันธุกรรมแล้ว
ปัจจุบันมีผลการศึกษาชัดเจนว่าเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้สายตามองใกล้นานๆ เช่น
อ่านหนังสือ ดูแท็บเล็ต ดูโทรศัพท์มือถือ
ดูคอมพิวเตอร์ วาดรูป
ต่อโมเดล
ดังนั้น ผู้ปกครองควรพิจารณาลดกิจกรรมมองใกล้ที่ไม่จำเป็นลง เช่น ลดการเล่นเกมส์ หรือ
งดดูการ์ตูนในโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์
ลดการอ่านหนังสือการ์ตูนหรือนิยาย และเพิ่มกิจกรรมการมองไกลมากขึ้น เช่น
ออกกำลังกาย นอกจากนี้
มีการศึกษาว่าการได้รับแสงธรรมชาติเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยชะลอการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นด้วยและถ้าจำเป็น
อาจจัดให้มีอุปกรณ์ต่อพ่วงให้ดูการ์ตูนจากจอโทรทัศน์ในระยะไกลแทน
เมื่อลดกิจกรรมดังกล่าวเต็มที่แล้ว ถ้าสายตาสั้นยังเพิ่มขึ้นมากอยู่
จักษุแพทย์อาจพิจารณาให้ยาหยอดตาเพื่อชะลอการเพิ่มขึ้นของสายตาสั้นร่วมด้วย
โดยรายละเอียดของยาหยอดตาและทางเลือกการรักษาอื่นๆ
ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย ควรปรึกษา
จักษุแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษาดังกล่าว
ควรพาเด็กมาพบจักษุแพทย์เมื่อใด ?
เมื่อพบอาการผิดปกติในตาเด็ก เช่น หนังตาตก ตาเหล่ ตาสั่น น้ำตาไหล
ตาแดง และอาการผิดปกติอื่นๆ
พ่อแม่ควรให้ความสำคัญกับความผิดปกติที่เกิดขึ้น
โดยรีบมาพบจักษุแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที
เนื่องจากความผิดปกติบางอย่างหากทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษา
อาจมีผลถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้
ในเด็กปกติที่ไม่มีอาการทางตาใดๆ
คุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องพามาพบจักษุแพทย์ตั้งแต่แรกเกิด
แต่ควรพาลูกมาพบ
จักษุแพทย์เป็นระยะๆ ตามอายุ ดังนี้
-
ครั้งที่ 1 เมื่อเด็กมีอายุ 6 เดือน
จักษุแพทย์จะตรวจดูว่าเด็กใช้สายตาเท่ากันทั้ง 2 ข้างหรือไม่ การกลอกตาผิดปกติ
มีตาเหล่
และมีสายตาสั้นหรือยาวกว่าปกติหรือไม่
-
ครั้งที่ 2 เมื่อเด็กมีอายุ 2 ปีครึ่ง – 3 ปี
จักษุแพทย์จะสามารถวัดสายตาเด็กออกเป็นค่ามาตรฐานได้เป็นครั้งแรก
หากเด็กมีสายตาผิดปกติ
แพทย์จะได้ให้การรักษาอย่างทันท่วงที
-
ครั้งที่ 3 เมื่อเด็กอายุได้ 6-7 ปี
เป็นวัยที่เด็กเริ่มเข้าเรียนชั้นประถมปีที่ 1 ซึ่งจะต้องใช้สายตาเพิ่มขึ้นอย่างมาก
จึงควรพามาวัดสายตาว่า
จำเป็นต้องใช้แว่นหรือไม่
-
ครั้งต่อๆไป อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
เพื่อตรวจเช็คสายตาและสุขภาพตาทั่วไป