ต้อกระจก
โรคหนื่งที่เป็นโรคเกี่ยวกับอวัยวะที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของร่างกายเรานั่นก็คือดวงตา ซึ่งโรคนี้เป็นกันมากในผู้สูงอายุ และเกือบทุกคนจะต้องเป็นโรคนี้ นั่นก็คือ โรคต้อกระจก นายแพทย์สรรพัฒน์ รัตนิน ผู้อำนวยการโณงพยาบาลจักษุ รัตนิน และจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจอประสาทตาได้ให้ข้อมูลไว้ว่าต้อกระจกเป็นโรคคนแก่จริงหรือไม่
ต้อกระจกคือการขุ่นของแก้วตาของเราตามอายุเสียส่วนใหญ่ ดังนั้นอาจกล่าวๆได้ว่าโรคต้อกระจกเป็นโรคในผู้สูงอายุ โดยส่วนประกอบของดวงตาของเราจะมี ตาดำมีกระจกที่ใสอยู่ด้านหน้าก็เรียกว่ากระจกตาดำ ซึ่งใสที่เห็นสีดำก็คือม่านตาของเราที่อยู่ข้างใน ข้างหลังม่านตาอีกทีนึงจะมึตัวเลนส์ที่บางลงได้ หนาขึ้นมาได้แล้วแต่กล้ามเนื้อของเราจะปรับยังไง อันนี้เป็นตัวที่หักเหแสงแล้วทำให้เราปรับระยะภาพให้ชัดเจน โดยในชั้นนี้เป็นส่วนทีผิดปกติไปต้อกระจกเกิดจากอะไร
เป็นธรรมชาติของคนเราที่อวัยวะบางส่วนที่ใสมาตลอดชีวิตพอใช้งานเรื่อยๆหลายสิบปี ก็ย่อมมีการขุ่นออกมาตามอายุจะเป็นมากเป็นน้อยขึ้นอยู่กับ อายุ แสงแดด สุขภาพทั่ว ๆ ไป การเกิดต้อกระจกไม่ใช่อาการที่เกิดวันต่อวัน แต่เกิดจากการสะสม เป็นการขุ่นขึ้นเรื่อยๆแล้วแต่ว่าใครสังเกตุขนาดไหนเรื่องค่าสายตามีความเกี่ยวข้องกับการเป็นต้อกระจกด้วยหรือไม่
หากเราสายตาสั้นมาก ๆ สักประมาณลบพันนึง ลบสองพัน ลบพันเจ็ด ก็อาจจะเป็นต้อกระจกได้ง่ายขึ้น แต่ในผู้ป่วยที่มีค่าสายตายาวส่วนมากจะไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดต้อกระจกช้าหรือเร็ว แต่หากสายตาสั้นมากๆมีส่วน สาเหตุอื่นๆที่ก่อให้เกิดต้อกระจก ในผู้ป่วยบางคนเกิดมาก็มีต้อกระจกแล้วตังแต่เด็กๆ อาจจะเกิดขึ้นเพราะพันธุกรรมได้ หรือถ้าเกิด คุณแม่มีโรคประจำตัว เช่น หัดเยอรมันหรืออะไรในระหว่างท้องอยู่ลูกออกมาก็อาจจะมีต้อกระจกทั้งสองข้างได้ส่วนอีกประเด็นใหญ่ๆเลยก็คือเรื่องของอุบัติเหตุทางตา ไปโดนกระแทกมาหรือมีอะไรทิ่มไปในตา อันนี้ก็ทำให้เกิดต้อกระจกขึ้นได้อย่างรวดเร็วภายในวันสองวันก็เป็นได้ หรือในผู้ป่วยบางรายสามารถเกิดทันทีเลยก็มี โรคที่สามก็คือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาอย่างอื่นเช่น สเตียรอยด์เป็นระยะเวลานานก็ทำให้เป็นต้อกระจกได้ง่ายขึ้น
ในผู้ป่วยต้อกระจก การมองเห็นแสงจ้า สู้แสงไม่ได้เกิดจากอะไร
อาการแสงจ้า สู้แสงไม่ค่อยได้ เกิดจากการที่ตาของเราที่เมื่อก่อนใสตลอด พอเริ่มมีการขุ่นขึ้นมาแสงที่วิ่งเข้าไปในตาทะลุ ทะลุเลนส์ใส ๆ ของเราทำให้แสงกระจายออก ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าตาพร่า เวลาออกแดดไม่ค่อยชอบออกแดด อีกอย่างแก้วตาของเราเริ่มมีต้อกระจกเกิดขึ้นมันไม่เพียงจะขึ้นอย่างเดียว แต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุเหมือนกับขอนไม้ การหักเหของแสงก็มากขึ้นทำให้ผู้ป่วยคนนั้นเริ่มมีสายตาสั้นมากขึ้นผลกระทบที่เกิดกับชิวิตประจำวันในผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจก
ถ้าเป็นคนที่ขับรถ อาการต้อกระจกไม่ต้องเป็นมากก็อาจทำให้สอบใบขับขี่ลำบาก หรือเป็นอันตารายมากขึ้นเวลาขับรถโดยเฉพาะตอนกลางคืน ที่แสงน้อยๆ แล้วก็แสงไฟมาสว่างวาบขึ้นมา ผู้ป่วยอาจจะต้องการผ่าตัดสลายต้อเร็วขึ้นเพื่อจะได้สายตากลับมาในการทำงานในชีวิตประจำวันแต่ในผู้ป่วยบางคนที่บ้านอาจจะอ่านหนังสือไม่มาก ผู้ป่วยกลุ่มนี้อาจจไม่ได้สังเกตอาการและะรอไปนานกว่ากว่าจะมาหาหมอเพื่อจะมาตรวจแล้วก็รักษา
ต้อกระจกจำเป็นต้องรักษาหรือไม่
ต้อกระจกเป็นธรรมชาติของชีวิต ของอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะปล่อยไว้นานขนาดไหน อย่างไรหมอจะไม่ค่อยว่าแต่ขอแนะนำให้ตรวจเป็นบางครั้งบางคราว อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากพบว่าการสุกของต้อกระจก ถ้าต้อกระจกสุกถึงขั้นหนึ่ง อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพตาได้ เช่น ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน โรคต้อหิน หรือการอักเสบในตา เกิดจากต้อที่สุกแล้ว ทั้งสองโรคนี้บางครั้งที่ผ่าตัดแล้วสายตาอาจไม่ได้กลับมาได้หมด เป็นอันตรายต่อสายตาจริงๆอย่าลืมว่าต้อกระจกเป็นอะไรที่รักษาแล้วผู้ป่วยควรจะมองเห็นใส ชัดเจน กลับคืนมาเหมือนเก่า แต่ถ้าเกิดมีเรื่องโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นมาจากต้อที่สุกก็จะเป็นอะไรที่อาจจะเอากลับมาไม่หมดทีเดียวผู้ป้วยที่ตรวจพบต้อกระจกแนะนำว่าควรตรวจติดตามอย่างต่อเนื่อง หนึ่งเดือน หกเดือน หรือ ปีละหนึ่งครั้ง จักษุแพทย์จะรับฟังผู้ป่วยว่าเมื่อไหร่ที่ผู้ป่วยต้องการสายตาที่ใสกลับคืนมา แล้วจึงตกลงผ่าตัดสลายต้อกระจก โดยในปัจจุบันมีวิวัฒนาการที่ดีที่สุดที่เราเรียกว่า GOLD STAND ของหมอตา ก็คือการสลายต้อกระจกด้วยเครื่อง อัลตร้าซาวด์ ซึ่งเมื่อทำแล้วผู้ป่วยจะไม่มีโอกาสกลับมาเป็นต้อกระจกอีก เลนส์แก้วตาที่จักษุแพทย์ใส่เข้าไปก็จะใส่ไปตลอดชีวิต
จักษุแพทย์สลายต้อกระจกจากเนื้อที่ขุ่นข้างในตัวแก้วตา และทิ้งถุงเลนส์ใสเอาไว้ ที่เป็นของเก่าที่จักษุแพทย์ขัดให้ใสสะอาดแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมให้เข้าไปในถุงเลนส์ส่วนนั้น ในบางท่านประมาณ 10-15 เปอร์เซ็นนี่ก็คือถุงเลนส์ที่เราทิ้งเอาไว้ที่จะให้เลนส์เทียม มันก็อาจจะขุ่นตามธรรมชาติ เมื่อครบสามเดือนหลังสลายต้อเมื่อไหร่ เลนส์แก้วตานี้ก็จะยึดอยู่กับที่โดยไม่ต้องมีถุงเลนส์ แล้วถ้าขุ่นลงมา จักษุแพทย์จะใช้เลเซอร์เย็น เลเซอร์ใสที่ไม่มีแสง ไม่เจ็บ ในการตัดถุงเลนส์นี้ออกให้ผู้ป่วย ผู้ป่วยใน 5 นาที ก็จะสำเร็จ
วิธีการดูแลถนอมดวงตา
1. แสงยูวีทำให้ผิวและอวัยวะหลายๆอย่างของเราที่แก่ตัวลงได้เร็วขึ้น ตาก็อาจจะเป็นต้อกระจกได้เร็วขึ้น หากโดนแสงยูวีเป็นประจำ เพราะฉะนั้นการใส่แว่นกันแดดจะช่วยได้ดี2. กรณีอื่นๆเช่น เรื่องของความเครียด หรือการใช้งานดวงตาอย่างหนักโดยไม่พัก จะทำให้เมื่อยตาได้เพราะการที่เราจ้องจอคอมพิวเตอร์ แสงจ้า ดวงตาเราก็เกร็ง ไม่เพียงแต่ตาเกร็ง บริเวณแถวผิวใบหน้าของเรา กล้ามเนื้อตาก็จะเกร็ง ทำให้เกิดการปวดหัว การปวดร้าวในกระบอกตาได้ ผลกระทบอย่างอื่นคือการที่เราจ้องอะไรนานๆ เราโฟกัสมาใกล้ๆ เราใช้กล้ามเนื้อข้างในตาของเราด้วยเช่นกันที่จะโฟกัสก็จะทำให้เมื่อยตาได้