02-056-3333
ศูนย์รักษาโรค> รอบรู้เรื่องตา

ไก่ฟ้ามหาภัย และ ตาปลอม (นพ.นพรัตน์ สุจริตจันทร์)

นพ. นพรัตน์ สุจริตจันทร์ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระจกตาได้ร่วมให้สัมภาษณ์ไว้ในรายการ VIP เกี่ยวกับกรณีอุบัติเหตุของผู้ป่วยท่านหนึ่งที่จังหวัดลพบุรี ที่ถูกไก่ฟ้าตีไปที่ดวงตาและได้เข้ารับการผ่าตัด โดยผู้ป่วยได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดในวันนั้นพร้อมการรักษา ดังนี้                                                                                                                                          
ในระหว่างที่ผู้ป่วยกำลังนั่งรอคุณพ่อ ก็มีไก่ฟ้าตัวหนึ่งซึ่งเป็นไก่ฟ้าของบ้าน เผอิญว่าหลุดออกมาจากกรง จากนั้นไก่ฟ้าก็บินมาข้างซ้าย ข้างๆผู้ป่วย แล้วใช้เดือยคือตรงส่วนแหลมของเล็บตีเข้ามาที่ตาและใบหน้า ผู้ป่วยเล่าว่าในตอนนั้นไม่มีเลือดออก แต่รู้สึกปวด ปวดมากๆ จึงรีบปฐมพยาบาลตัวเองโดยการล้างตัว ล้างบริเวณใบหน้า โดยใช้น้ำธรรมดาล้าง
 
จากนั้นก็พยายามล้างตาแล้วก็ลืมตาข้างที่โดนตี ก็รู้สึกว่าเหมือนมีน้ำขังอยู่ในตา เหมือนมีน้ำขังอยู่ตอนนี้ผู้ป่วยคิดว่าไม่เป็นไร จึงไปเช็ดตาด้วยผ้าแห้ง คิดว่าเมื่อตาแห้งแล้วคงมองเห็นเป็นปกติ  จากนั้นก็ขึ้นไปบนบ้านใช้ผ้าเช็ด เช็ดจนแห้งก็ปิดตาข้างขวาลืมตาข้างซ้าย แต่ก็ยังเป็นเหมือนมีน้ำขังอยู่ คือไม่สามารถที่มองเห็นภาพได้เลย เห็นเป็นน้ำขัง เริ่มตกใจจึงรีบโทรหาคุณแม่ คุณแม่จึงรีบมารับไปพบจักษุแพทย์
                                                           
กว่าจะถึงมือหมอใช้เวลาประมาณ 2 ชม. ซึ่งถือว่าค่อนข้างเร็ว แต่ว่าแผลที่เกิดก็ค่อนข้างรุนแรงฉกรรจ์มากเหมือนกัน จักษุแพทย์แจ้งว่า เลนส์ตาฉีก แก้วตาฉีก โดยเบื้องต้นจักษุแพทย์ที่จังหวัดลพบุรี แจ้งว่าถ้าผ่าตัดแล้วจะหายเป็นปกติ ใหม่ๆอาจเกิดภาพเหลื่อม ภาพซ้อน แต่ร่างกายจะปรับ ปรับจนหายเป็นปกติ                                                                                                                                             
จากนั้นผู้ป่วยจึงรับการผ่าตัดจากจักษุแพทย์ที่จังหวัดลพบุรี แต่หลังการผ่าตัด ผู้ป่วยค่อนข้างเจ็บปวดมากเพราะเจ็บแผลแต่การเจ็บแผลเบื้องต้นในวันแรกที่ผ่า คือเจ็บแผลจากผ่าตัด แต่วันที่สองที่สามคือ แผลการติดเชื้อ เบื้องต้นจักษุแพทย์ท่านที่ทำการรักษาแจ้งว่า ได้ฉีดยากันบาดทะยักไว้แล้ว แต่เผอิญว่านี้ พอหลังจากที่มีอาการติดเชื้อข้างขวา                                                                                                                                                
คุณแม่ของผู้ป่วยจึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อมาพบคุณลุงของผู้ป่วยซึ่งเป็แพทย์ เมื่อคุณลุงทราบอาการจึงเกิดสงสัยว่าดวงตาติดเชื้อ เพราะหากผ่าตัดแล้วยังปวดอยู่ มีอาการของการติดเชื้อ จากนั้นคุณลุงของผู้ป่วยได้ไปผู้ป่วยในวันที่สี่ตอนเช้า และพยาบาลอ่านผลการรักษาและอาการให้ฟัง จากนั้นจึงตัดสินใจย้ายตัวผู้ป่วยเข้มารักษาที่กรุงเทพฯ                                                                                                                                      
จักษุแพทย์ที่กรุงเทพฯได้ตรวจรู้ว่ามีการติดเชื้อ เพราะฉะนั้นจึงขอป้ายขี้ตาไปเพาะเชื้อเพื่อตรวจว่าเป็นเชื้ออะไรประมาณ 7 วัน ซึ่งขณะนั้นตาข้างขวาของผู้ป่วยมีอาการบวม ซึ่งคุณลุงที่เป็นแพทย์แจ้งผู้ป่วยว่า หากตาข้างขวาลาม อีกสองวันตาข้างขวาจะบอด จากนั้นอีกสองวันจะขึ้นสมอง และอาจทำให้เสียชีวิตได้
                                                                                                                                   
หลังจากย้ายรพ.เข้ามารักษาที่กรุงเทพฯ ผู้ป่วยไม่มีสติรู้สึกตัวและมาฟื้นสติอีกทีหลังจากที่ให้ยาฆ่าเชื้อแล้ว ประมาณ 1-2 วัน พอฟื้นขึ้นมาแล้ว ก็รักษาโรคติดเชื้ออยู่ประมาณ 45 วัน โดยที่ยังไม่ทราบว่าเสียตาข้างซ้ายไปแล้ว คุณหมอก็อธิบายไว้ว่า เซลล์รับภาพเสียจะต้องควักตาทิ้ง คุณหมอก็จะฉีดยาประมาณ 8 เข็ม บล็อคใบหน้า และฉีดยา                                                                              
                                                                                                                                               
มารับรู้ว่าได้เสียตาข้างซ้ายไปแล้วเมื่อตอนไปหาคุณหมอที่เป็นคุณหมอจักษุโดยเฉพาะ ก็เป็นการตรวจเฉพาะทางตา ตอนนั้นผู้ป่วยรักษาเพียงแผลติดเชื้อ คุณหมอก็อธิบายเลยว่าไม่ได้ คือเซลล์รับภาพเสียเพราะข้างในจะมีเซลล์รับภาพเหมือนจอหนังเราฉายไปไม่มีจอรับภาพ ไม่มีประโยชน์ เมื่อเซลล์รับภาพเสียจะต้องควักตาทิ้ง แล้วใช้ตาปลอม
 
                                                                                                           
คุณหมอแจ้งว่าการติดเชื้อที่ติดอย่างรุนแรงขนาดนี้สาเหตุเกิดจากขี้ไก่ที่ติดอยู่ตรงเดือยไก่ แล้วพอไปตีเราจะมีขี้ไก่ เศษสกปรกอยู่บริเวณบาดแผลแล้วเราไปล้างพอเราไปล้าง เชื้อมันจึงเข้าไปทางแผลได้           
                                                                                                                                               

เมื่อคุณหมอบอกว่าต้องควักตาทิ้ง

เบื้องต้นการผ่าตัดทั่วไปต้องวางยาสลบ แต่วันต้องผ่าตัดและดมยาสลบเป็นวันที่ผู้ป่วยไม่สะดวก จึงเลือกการบล็อคยาชาที่บริเวณใบหน้า จากนั้นจึงใช้เลเซอร์ในการผ่าตัด ซึ่งในการผ่าตัดครั้งนั้น หากเป็นผู้ป่วยทั่วไปใช้เวลาผ่าตัดประมาณชั่วโมง แต่ในกรณีนี้ผู้ป่วยใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมง
                                                                       
หลังจากผ่าตัดเรียบร้อยผู้ป่วยได้กลับไปฟักฟื้นที่บ้าน ผู้ป่วยต้องหยอดยาหยอดตาอย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อรอใส่ตาปลอมหลังจากผ่าตัด ซึ่งใช้เวลาประมาณ เดือนครึ่ง หรือ 2 เดือน
 

นพ.นพรัตน์  สุจริตจันทร์  จักษุแพทย์จาก รพ.จักษุ รัตนิน
ได้รับเชิญเพื่ออธิบายเกี่ยวกับตาปลอมดังนี้

ก่อนจะอธิบายถึงเรื่องตาปลอม อาจารย์ได้บอกถึงวิธีปฐมพยาบาลที่ถูกต้อง หากเกิดกรณีอย่างผู้ป่วยท่านนี้ ถ้าเป็นแผลเกี่ยวกับการที่โดนของแหลมของมีคมที่ลูกตา ลูกตาอาจจะแตก เพราะฉะนั้นลูกตาเป็นเหมือนกับลูกบอลลูน ห้ามไปกด ห้ามไปเอาน้ำไปใส่ ห้ามอะไรเพราะว่าเชื้อโรคจะเข้าไปได้ เพราะว่าถ้าขืนเป็นบอลลูนมีรอยรั่วนิดหน่อยแล้วไปกดมันก็ยิ่งออกมาใหญ่เลย                                                                                                                                          
กรณีสมมติอย่างนี้มีฝุ่น ดิน ต้องทำการปิดตาอย่างเดียวห้ามไปยุ่งกับมัน ห้ามยุ่งเลย น้ำอะไร ยาหยอดตาอะไรก็ห้ามหมด ให้รีบปิดตาแล้วไปพบจักษุแพทย์เท่านั้น
 

ผู้ที่ต้องเสียตาไปอย่างถาวรแล้ว ทางเลือกในการรักษาหรือว่า
ทางเลือกของตาปลอมมีอะไรบ้าง         

การเสียสายตามี 3 ชนิด
● ชนิดที่ 1 เรียกว่าตาบอดตาใส หมายความว่าลูกตายังดีอยู่ปกติแต่ว่ามองไม่เห็นอันนั้นก็ทิ้งไว้เฉยๆ 
● ชนิดที่ 2 กระจกตามันขุ่น แทนที่จะตาดำก็เป็นสีขาวอันนี้ก็สามารถจะอาจจะทำได้ 2 ชนิด คืออาจจะใส่ซอฟเลนส์ที่มีสี หรือจะทำเป็น Scleral Shell เหมือนๆ ตาปลอมแต่บางกว่า 
● ชนิดที่ 3 ก็คือลูกตาอาจจะฝ่อไม่สวย ตายุบเข้าไปหรือว่าลูกตาแตก แพทย์จะต้องควักเอาลูกตาออกก่อน  ตอนที่ควักออกเนื่องจากมันเสียปริมาตรไปมากจะต้องเอาอะไรไปใส่เข้าไปแทนที่ สมัยก่อนก็ใช้ลูกแก้วเล็กๆ ใส่ประมาณ 12-16 มิลลิเมตร แทนเข้าไป                                                      
 
แต่ว่าข้อเสียของมันคือเย็บกล้ามเนื้อไม่ได้ กรณีผู้ป่วยที่กระจกตาไม่สวยแต่ลูกตายังดีอยู่ อันนี้ก็ทำScleral Shell หรือใส่คอนเทคเลนส์ได้ ถ้าเป็นถ้าเป็นปะการังก็สามารถจะเย็บกล้ามเนื้อเข้าไปได้ หลังจากนั้นประมาณ 6 อาทิตย์ ตาที่ได้ออกมาก็จะเหมือนเลยธรรมชาติมาก แต่ข้อเสียอันนี้ก็คืออาจจะกลอกตาไม่ดีเท่าไร แต่แทบจะไม่แตกต่างจากตาจริงเลย                                                                                                                                              
ซึ่งวัสดุที่ใช้จะทำมาจากพลาสติก ค่อนข้างบางและเบา ที่ต้องการความเบาและบาง เพราะว่าไปอยู่ที่ในตาที่เป็นเนื้อเยื่อ ถ้ามันมีความหนักมันจะตกลงไป
 

การดูแลรักษาตาปลอม

การใส่ตาปลอมส่วนมากจะแนะนำให้ถอดเดือนละครั้ง แต่ถ้ามีขี้ตาก็ถอดบ่อยกว่านั้นก็ได้ โดยใช้น้ำยาเดียวกับน้ำยาคอนแทคเลนส์ธรรมดา ซอฟเลนส์ธรรมดา การถอดก็สามารถถอดได้ง่าย แต่ว่าขอเสียอีกอันก็คือมันจะถลอกเพราะฉะนั้นอาจต้องไปให้แพทย์ฝนให้มันใสมันอยู่เสมอซักปีละครั้งหรือ 2 ปีครั้ง                                                                                                                                      

การใช้งานของตาปลอมอยู่ได้นานเท่าไหร่

อยู่ที่การดูแลของเจ้าของ ถ้าไม่หล่นบ่อยๆ ก็ใช้ได้นาน
 

นพ.นพรัตน์ได้ฝากคำแนะนำในการดูแลสุขภาพตา
ให้อยู่กับเราได้นาน ๆ ไว้ว่า                        

ขอแบ่งเป็น 3 ระยะ
● ระยะที่ 1 คือการตรวจตา ถามว่าทานวิตามินอะไรทั้งหลาย จะช่วยอะไรไหม ก็ไม่ช่วยหรอก เพราะว่าการตรวจตาเป็นประจำดีที่สุด ตั้งแต่แรกเกิดเลย ถ้าคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าเด็กคนนี้มีอะไรผิดปกติเกี่ยวกับดวงตาพาไปตรวจเลยไม่ต้องกลัวว่าเด็กจะเล็กเกินไปอะไรไม่มี
● ระยะที่ 2 คือตอนที่เด็กเข้าประถม 1 ทุกคนควรจะได้รับการตรวจโดยจักษุแพทย์ เพราะว่ามีหลายท่านที่ตาข้างหนึ่งมองไม่ชัดเลย   แล้วก็เป็นอย่างนั้นไป ปล่อยไปจนโตเพราะเด็กไม่ทราบ
● ระยะที่ 3 ก็คือระยะโตแล้ว ก็คืออายุประมาณ 40 ปี ขึ้นไป ควรจะตรวจตาทุกปีโดยเฉพาะกลุ่มที่มีญาติเป็นต้อหิน แล้วก็ผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ เช่นผู้ป่วยเบาหวานจะต้องตรวจตาทุกปี                                                                                                                                                          
อีกอย่างหนึ่งคืออาการพิเศษ เช่น ตาแดง เคืองตา เจ็บตา ก็ควรจะไปพบจักษุแพทย์ แล้วอีกอันที่สำคัญก็คือเห็นจุดดำลอยเยอะไปหมด ซัก 10 กว่าจุด หากมองเห็นเพียง 1-2 จุด ไม่เป็นไรแต่หากเกิน 10 กว่าจุดควรไปหาจักษุแพทย์
                                                                                                                                   

สาเหตุของการเกิดจุดดำเกิดจากอะไร

อาจจะมีเลือดออกในตาในวุ้นในตา ซึ่งจะลามไปกลายเป็นจอประสาทตาหลุดลอกทำให้ตาบอดได้จึงแนะนำให้รีบมาตรวจหากมีอาการดังกล่าว                                                                                                                                                                         
บทความโดย : นพ. นพรัตน์ สุจริตจันทร์