02-056-3333
ศูนย์รักษาโรค> รอบรู้เรื่องตา

วิทยาการใหม่ในการเปลี่ยนกระจกตา

กระจกตา

คือ ส่วนที่อยู่ด้านหน้าของลูกตา จะเป็นส่วนใสๆ ทำหน้าที่ร่วมกับเลนส์ตา ซึ่งส่วนใหญ่การหักเหแสงเกิดจากกระจกตามากกว่าเลนส์ตา กระจกตาจะใสไม่มีสี เพราะฉะนั้น สีที่เราเห็นของดวงตาเป็นสีที่เห็นจากสีของม่านตา 

กระจกตามีทั้งหมด 5 ชั้น มีความหนาเฉลี่ยประมาณ 520 ไมครอน ส่วนประกอบของกระจกตา

- ชั้นที่ 1 (ชั้นแรก)
คือ ชั้นเซลล์ผิวหนังกำพร้า เซลล์ชั้นนี้เวลาเราบอกว่ากระจกตาถลอก ก็คือชั้นนี้ถลอก ซึ่งเซลล์ชั้นนี้มีการเพิ่มจำนวนได้ ซึ่งเวลาที่ถลอก เซลล์ก็จะเพิ่มจำนวนมาปิดกระจกตาที่ถลอก

- ชั้นที่ 2 (ชั้นรองรับผิว)
คือ ชั้นที่เป็นขีดด้านล่าง เราเรียกว่า ชั้นรองรับผิว ซึ่งเป็นเยื่อรองรับผิว เป็นชั้นบางๆ

- ชั้นที่ 3 (ชั้นเนื้อเยื่อหลัก)
คือ ชั้นที่มีความหนาประมาณ 90% ของความหนาทั้งหมดของกระจกตา เราเรียกว่า ชั้นเนื้อเยื่อหลัก ซึ่งชั้นนี้มีความสำคัญ คือเวลาเป็นแผลเป็น เกิดการขุ่นของกระจกตา ก็คือขุ่นในชั้นนี้

- ชั้นที่ 4 (ชั้นรองรับเซลล์ผิวด้านใน)
คือ ชั้นบางๆ เป็นชั้นรองรับเซลล์ผิวด้านใน ซึ่งชั้นนี้ก็สำคัญมาก เนื่องจากว่าเป็นชั้นที่บางมาก ประมาณ 10 ไมครอน ซึ่งมีความยืดหยุ่นดีมาก

- ชั้นในสุด
เหมือนเซลล์เรียงเดี่ยว ซึ่งถ้าเรามาส่องจริงๆ จะเป็นรูปหกเหลี่ยม ไม่มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวน แรกเกิดอาจจะมีอยู่ 4 พันเซลล์ต่อตารางมิลลิเมตร พออายุมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะมีการลดลงของจำนวนเซลล์ ซึ่งชั้นนี้มีหน้าที่ปั้มน้ำออกจากกระจกตา ทำให้กระจกตามีน้ำอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ ถ้าเซลล์ชั้นนี้เสียไป โดยเฉพาะถ้าน้อยกว่า 500 เซลล์ต่อตารางมิลลิเมตร ก็จะทำให้กระจกตาบวมน้ำ เนื่องจากการปั้มน้ำออกจากกระจกตามีได้น้อย ทำให้น้ำคั่งอยู่ในชั้นเนื้อเยื่อหลัก ก็คือจะเกิดความขุ่นได้เหมือนกัน
เพราะฉะนั้นโดยปกติ หากเราจะแยกเพื่อความเข้าใจได้ง่ายก็คือ เราบอกว่ากระจกตาส่วนหน้าก็จะพูดถึงเซลล์ชั้นนี้ หนังกำพร้า ชั้นเยื่อรองรับผิว และชั้นเนื้อเยื่อหลัก 3 ชั้นนี้ ขอให้เป็นด้านหน้า ส่วนชั้นที่ขีดๆบางๆคือชั้นเยื่อรองรับเซลล์ผิวด้านใน กับชั้นเซลล์ผิวด้านในบางๆ 10% ที่เหลือเป็นกระจกตาด้านใน ก็คือชั้นที่ 4 กับชั้นที่ 5
 

 

สาเหตุส่วนใหญ่ของการเปลี่ยนกระจกตา หลักๆมี 4 สาเหตุ

· สาเหตุที่ 1 คือเรื่องของการทำให้มองเห็นดีขึ้น เช่น กระจกตาขุ่น กระจกตาบวมน้ำ หรือขุ่นจากแผลเป็นหรือกรรมพันธุ์ หรือว่าเป็นโรคกระจกตาโป่งขั้นรุนแรง ก็คือ เป็นกลุ่มของคนไข้ที่มองเห็นไม่ดีแล้วเปลี่ยนเพื่อที่จะมองเห็นได้ดีขึ้น
· สาเหตุที่ 2 คือเรื่องของการทำให้โครงสร้างของตัวตาแข็งแรงขึ้น เช่น คนไข้ที่กระจกตาบางจนเกือบทะลุหรือจะทะลุ ซึ่งอันนี้ เราผ่าตัดเพื่อปะกระจกตา ก็คือส่วนหนึ่งเป็นการปะทำให้แข็งแรง นี่คือสาเหตุที่ 2
· สาเหตุที่ 3 คือเพื่อการรักษา เช่นคนไข้มีการติดเชื้อ เราไม่รู้เชื้ออะไรหาไม่เจอ เราก็เอากระจกตาออกไปส่งตรวจ แล้วก็เปลี่ยนไปด้วย
· สาเหตุที่ 4 คือเพื่อความสวยงาม ซึ่งอันนี้ไม่ค่อยได้ทำกันเลย เนื่องจากกระจกตาเราขาดแคลน มันไม่ได้เป็นสาเหตุที่มีความจำเป็นมากมายนัก ก็เลยไม่ได้ทำ
 

การเปลี่ยนกระจกตาวิธีดั้งเดิม

ก็คือการที่เราเปลี่ยนกระจกตาทั้งชั้นเลย ก็คือว่าเราจะปั่นกระจกตาออกทั้งความหนาทั้งชั้นเลยเป็นวงกลม เอาออกไปส่วนที่มีโรค ส่วนกระจกตาที่ได้มาใหม่เป็น กระจกตาบริจาคก็ปั่นเหมือนกัน ลักษณะเดียวกันแล้วเราเหมือนเอามาสลับ แล้วก็จะมีไหมเย็บ ซึ่งโดยปกติเราจะใช้ไหมเป็นไนลอน พวกนี้เป็นไหมที่ไม่ละลาย แล้วก็มีการสมานแผลต่อ ซึ่งอันนี้ถามว่าวิธีนี้เหมาะกับคนไข้กลุ่มไหน ก็คือเหมาะกับคนไข้ที่เป็นโรคของทั้งกระจกตาทั้งส่วนหน้าและส่วนหลัง แต่ว่าวิธีนี้ก็เป็นวิธีที่ไม่ซับซ้อนและทำกันมานานเป็น 10 ปี
 
กระจกตานี้เป็นกระจกตาบริจาค ที่แรกเราจะได้จากสภากาชาดไทย อันที่ 2 ก็คือเป็นกระจกตาที่ได้จากต่างประเทศ เป็นศูนย์ดวงตาของต่างประเทศ ซึ่งก็จะมีประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งบริจาคเยอะและส่งให้ประเทศต่างๆทั่วโลกใช้ ก็ในส่วนปัจจุบันนี้มีกระจกตาเทียมเหมือนกัน ซึ่งใช้น้อยมาก ถ้าเทียบการใช้กระจกตาเทียมประสบความสำเร็จได้ผลดีก็ยังสู้กระจกตาบริจาคไม่ได้
ปกติกระจกตาที่ได้มา เรามักจะไม่ได้มาทั้งดวง แต่เวลาผู้บริจาคดวงตาเวลาศูนย์ดวงตารับไปก็จะรับไปทั้งดวง เพราะฉะนั้นก็จะมีส่วนของตาขาวด้วย ส่วนที่ใช้ได้นอกจากกระจกตาคือส่วนใสๆ ส่วนตาขาวก็เอาไปใช้ได้ หรือส่วนขอบของกระจกตาหลังจากที่เราปั่นไปแล้วก็ยังสามารถเอาไปใช้ได้
 
ข้อดีก็คือเป็นการผ่าตัดที่ไม่ซับซ้อนเลยทำกันมานานแล้ว แต่ว่าการผ่าตัดแบบนี้มันก็มีความเสี่ยง ซึ่งเยอะกว่าแบบอื่น โดยเฉพาะการที่เราอธิบายว่ามีการปั่นกระจกตาส่วนตรงกลางออก เพื่อจะสลับกับกระจกตาใหม่ ซึ่งได้รับการบริจาคมา ซึ่งช่วงที่เราเปิดตามันเป็นแผลเปิดใหญ่ เพราะฉะนั้นเนี่ยถ้าเกิดว่ามีเลือดออกข้างใน เพราะดวงตาข้างในมีเส้นเลือดเยอะ ถ้าเลือดออกรุนแรงก็จะดันทุกอย่างออกจากรูเปิดนั้นซึ่งอันตราย อาจจะสูญเสียตาเลยก็ได้
 
ซึ่งโอกาสเกิดมันมีน้อยมากก็จริงแต่ว่ามันรุนแรง อันนี้ก็คือเรื่องของการผ่าตัด ส่วนในระยะยาวเนี่ยก็จะมีปัญหาเรื่องของความแข็งแรงของแผล เพราะว่าตัวกระจกตาเองก็ต้องบอกว่า ไม่มีเส้นเลือด กระจกตาปกติ เพราะฉะนั้นการสมานแผลเมื่อถูกปั่นแบบนั้นแล้วมันจะไม่มีการสมานที่แข็งแรงเหมือนตาปกติที่ไม่เคยผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเลย เพราะฉะนั้นถ้าเราเกิดโดนกระแทกอะไร ถึงแม้ไม่รุนแรงมาก แผลตรงที่เย็บไว้ อาจจะเกิดการปริแตก ซึ่งอันนี้เป็นอันตรายมากๆเลย เรื่องของไหม อย่างที่บอกว่ามันเป็นไหมไม่ละลายเป็นไนลอน ซึ่งปกติเราทิ้งไหมไว้อาจจะเป็นหลายๆเดือนหรือเป็นปีหรือหลายปีเลย เพราะฉะนั้นในระยะยาวเนี่ยไหมอาจจะขาด หลวมหรือโผล่ทำให้เกิดการกระตุ้น การต้านกระจกตา ซึ่งก็คือร่างกายเราไม่รับกระจกตาที่เราได้รับบริจาคมา ทำให้มันกลับมาขุ่นใหม่อีก หรือว่าเกิดการติดเชื้อตรงปลายไหมที่ผูก
 
หรือว่ากระจกตาอาจจะแห้งง่าย เนื่องจากว่าการปั่นเปลี่ยนกระจกตาแบบนี้ เราไปตัดเส้นประสาทตาซึ่งเข้ามาจากตรงตาขาว เพราะฉะนั้นเนี่ยกว่าที่ตาจะฟื้นกลับมามันใช้เวลา ซึ่งโดยปกติการฟื้นตัวก็นานเป็นปีขึ้นไปเลยในวิธีนี้ แล้วก็ความโค้งของกระจกตาจะถูกเปลี่ยนเยอะมาก เนื่องจากเราเปลี่ยนทั้งชั้น เรามีไหมเย็บ ความโค้งที่เปลี่ยนไปมากๆอาจจะทำให้เกิดสายตาซึ่งเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ในแง่ของสายตาเอียงอาจจะเยอะมาก หรือว่าเกิดสายตาสั้น สายตายาวอะไรที่มันผิดปกติกว่าเดิมเยอะๆมาก เพราะฉะนั้นเรื่องโดยรวมก็จะเป็นการผ่าตัดที่ไม่ซับซ้อน แต่ความเสี่ยงเยอะ การฟื้นตัวช้าและถ้าเทียบกับการทำวิธีเปลี่ยนกระจกตาแบบอื่น ตัวการต้านกระจกเนี่ยมีได้สูงกว่าวิธีอื่นที่เหลือทั้งหมดเลย
 
แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู้กับว่าตัวคนไข้เองเป็นโรคอะไร ถ้าจำเป็นต้องผ่าตัดวิธีนี้ เช่น ที่หมอบอกว่าผิดปกติในกระจกตาทั้งส่วนหน้าและส่วนหลังเลยก็อาจจะยังจำเป็นอยู่ที่ต้องผ่าตัดวิธีนี้ 
 
ถ้าผ่าตัดถ้าคนไข้เป็นโรคของกระจกตาที่ส่วนด้านหน้า ก็คือส่วนใหญ่จะเป็นแผลเป็นคือเนื้อกระจกตาตรงนี้ หรือขุ่นจากกรรมพันธุ์ หรือว่าเป็นโรคของกระจกตาโป่ง ซึ่งเป็นขั้นรุนแรงที่ต้องเปลี่ยน เราก็จะเปลี่ยนกระจกตาเฉพาะส่วนหน้า แทนที่เราจะเปลี่ยนแบบทั้งชั้นแบบวิธีดั้งเดิม เพราะวิธีดั้งเดิมเราถือว่าเป็นการผ่าตัดที่ทะลุเข้าไปในลูกตาเลยแต่วิธีใหม่ไม่ใช่ เพราะเราจะเลาะเฉพาะกระจกตา 3 ชั้นนี้ เหลือแต่ชั้นล่างก็คือชั้นบางๆกับชั้นเซลล์ผิวด้านล่างนี้
 
ส่วนที่ 4 กับส่วนที่ 5 นี้เก็บไว้ เพราะฉะนั้นเราก็จะปั่นคล้ายๆเดิม แต่แทนที่จะปั่นทะลุเราปั่นแค่บางส่วนแล้วใช้อากาศเข้าไปแยก อากาศจะเข้าไปอยู่ระหว่างชั้นที่ 3 กับชั้นที่ 4 หรือถ้าอากาศแยกไม่ได้ เราก็จะค่อยๆเลาะๆ เพราะฉะนั้นเราจะเอาส่วนด้านหน้าออก ในขณะเดียวกันเมื่อได้กระจกตาที่ได้บริจาคมา เราก็จะลอกอย่างที่อธิบายตอนแรกว่า ชั้นที่ 2 กับชั้นที่ 3 จะติดกันแน่น ชั้นที่ 4 กับชั้นที่ 5 จะติดกันแนน่ เพราะฉะนั้นเราก็จะลอกชั้นที่ 4 กับชั้นที่ 5 ออก ในกระจกตาใหม่ที่เราได้มา
 
เพราะว่าในคนไข้มีอยู่แล้ว เราก็เอาเฉพาะ 3 ชั้นแรกที่เราเอาจากคนไข้ออกไป เราก็เอากระจกตาใหม่มาแล้วก็เอา 3 ชั้นนี้ เข้ามาทดแทนซึ่งเป็นกระจกตาที่ใส แล้วเราก็เย็บ แต่วิธีการเปลี่ยนกระจกตาที่เป็นการเปลี่ยนแบบส่วนหน้า
มาเย็บก็จะเหมือนกับวิธีดั้งเดิม เพียงแต่ว่าถ้าเรามามองดูของชั้นกระจกตาจะไม่เหมือนกัน คือแทนที่จะเปลี่ยนทั้งหมดทุกชั้น เราก็เปลี่ยนเฉพาะชั้นที่อยู่ 1, 2, 3 เอาออก แล้วเอา 1, 2, 3 เข้ามาใหม่ ส่วน 4, 5 เป็นของคนไข้เอง ซึ่งวิธีนี้ก็ยังคงถือว่า เป็นวิธีการผ่าตัดนอกลูกตา ยังไม่ได้เข้าลูกตาเลย
 
แล้วก็ตัวชั้นที่ 4 นี้ เนื่องจากการยืดหยุ่นดีมาก เพราะฉะนั้นเนี่ยเวลาโดนกระแทก“ถ้าเปรียบเทียบกับวิธีดั้งเดิมนี่ กระจกตาที่ได้รับการเปลี่ยนแบบวิธีนี้จะแข็งแรงกว่าเยอะ โอกาสที่กระจกตาจะแตกมีน้อยมาก เทียบกับว่าความรุนแรงของการโดนอุบัติเหตุมามันไม่เยอะ โดยส่วนใหญ่แบบนี้จะปลอดภัยกว่า แล้วก็เรื่องของการต้านกระจกตา แบบนี้เทียบกับแบบดั้งเดิมจะน้อยกว่าเยอะ ซึ่งวิธีนี้มคำย่อในภาษาอังกฤษว่า DALK  เป็นวิธีใหม่ วิธีผ่าตัดเปลี่ยนกระจกตาเฉพาะส่วนหลัง”
 

 
คนไข้จะต้องมีความผิดปกติของด้านหลังเซลล์ด้านหลังของกระจกตาเป็นซลล์กระจกตาเสื่อม ทำให้กระจกตาบวมน้ำ แทนที่เราจะทำแบบวิธีดั้งเดิม ก็คือปั่นครบทุกชั้น เอาออกทุกชั้นเลย ทั้งๆที่จริงๆแล้วมันผิดปกติเฉพาะด้านใน เพราะฉะนั้นก็มีคนคิดว่า ทำไมเราจะต้องเปลี่ยนทั้งชั้น เพราะความแข็งแรงมันก็ดีสู้ไม่ได้ ในปัจจุบันนี้ก็มีวิธีอยู่ 2 วิธี
วิธีแรก เราเปลี่ยนกระจกตาโดยการใส่ส่วนที่เปลี่ยนเฉพาะส่วนหลัง แต่ใส่ชั้นที่ 3 ด้านล่าง ชั้นที่ 4 และชั้นที่ 5 เข้าไปในตาผู้ป่วย ก็คือว่าตอนเอาออกเนื่องจากว่า คนไข้เหล่านี้มีความผิดปกติของเซลล์อันนี้ เราก็จะเจาะรูแล้วลอกชั้นที่ 4 กับชั้นที่ 5 ออมา เราจะได้ออกมาเป็นแผ่นเลย ทีนี้ตอนใส่เข้าไป
 
เราได้กระจกตามาแล้ว เราก็จะฝานกระจกตาด้านหน้าออกเยอะๆ คล้ายๆกับที่เราทำเลสิคถ้านึกภาพออก เลสิคคือการฝานกระจกตาออกแต่มีบานพับ แต่อันนี้เราฝานลึกกว่านั้นเยอะ เช่น เราฝานลึกลงมาเหลือแต่ความหนาด้านล่างแค่ 1 ใน 4 หรือ 5 เลย บางๆ แล้วเราใช้ส่วนนี้ ส่วนด้านหน้าเราไม่ใช้ เพราะฉะนั้นพอฝานแล้วเราก็จะเอาส่วนนี้มาปั่นกลมๆ เพราะฉะนั้นจะได้แผ่นบางๆกลมๆ แทนที่จะได้ทุกชั้นของความหนาในคนไข้ เราลอกส่วนนี้ออกไป พอได้กระจกตาใหม่ฝานออกไปลึกๆชั้น3 ,4 ,5 แล้วปั่นเป็นกลมๆ
 
แล้วเราก็สอดผ่านแผลที่อยู่ระหว่างตาดำกับตาขาวแถวๆนั้น แผลก็จะเป็แผลแค่ 5 มิลลิเมตรเอง แทนที่จะเป็นแผลเปิดกว้างๆ8มิลลิเมตร เหมือนแผลแบบดั้งเดิมไม่ใช่ เราก็จะสอดชั้นนี้เข้าไปข้างในตา ก็จะเข้าไปคลี่แล้วเราก็ใช้อากาศอัดทำให้กระจกตาคนไข้ กระจกตาบริจาคนี้มันติดกันแนบกันด้วยอากาศ แล้วแผล 5 มิลลิเมตรนั้นเราก็อาจจะเย็บ 2 เข็ม 3 เข็ม ซึ่งจริงๆถือว่าเป็นแผลที่เล็กมาก แล้วการสมานแผลของแผลที่เป็นส่วนกระจกตาดำต่อกระจกตาขาวแบบการผ่าตัดแบบนี้ ก็จะเป็นแผลที่แข็งแรงมากเลยถ้าเทียบกับการผ่าตัดแบบดั้งเดิม “ซึ่งวิธีนี้เราขอเรียกว่า DSAEK ซึ่งก็เป็นการเปลี่ยนกระจกตาด้านหลัง โดยที่เราใส่กระจกตาส่วนหน้าบางส่วนเข้าไปด้วย”
 


 
ซึ่งอันนี้ก็เป็นวิธีแรกที่มาหลังจากที่มีการเปลี่ยนกระจกตาแบบดั้งเดิมอีกวิธีหนึ่งนะคะ เราเรียกว่า ”การผ่าตัดแบบ DMEK คือการนำกระจกตาส่วนด้านหลังออกมาเหมือนกัน เพราะฉะนั้นคนไข้ที่ทำผ่าตัดวิธีนี้ก็คือเป็นคนไข้ที่เป็นความผิดปกติของเซลล์ของกระจกตาด้านหลัง เพราะฉะนั้นเราเอาออก เจาะรูเอาออกเหมือนกัน แต่ตอนเอาเข้า แทนที่เราจะเอาส่วนด้านหน้าบางส่วนเข้าไปด้วย เราก็เอาออกเท่าไหร่เราใส่ไปเท่านั้น คือเอาชั้นที่ 4 กับชั้นที่ 5 ออก เราก็เอาแค่ชั้นที่ 4 กับชั้นที่ 5 ใส่เข้าไปแทน”
 


ซึ่งทำได้อย่างไร ก็คือว่าในกระจกตาที่เราได้มาเป็นกระจกตาบริจาค เราจะค่อยๆลอกให้แผ่นชั้นที่ 4 กับชั้นที่ 5 ได้เป็นแผ่นเดียว ซึ่งชั้นที่ 4 กับ 5 จะบางมาก เป็นหลัก 10 ไมครอน ตัวเซลล์ชั้นนี้จะม้วน อาจจะเป็นม้วนเหมือนบุหรี่เลยม้วนเล็กๆเลย เพราะฉะนั้นตัวกระจกตาชั้นนี้เราจะสามารถฉีดเข้าไปผ่านแผลเล็ก 3 มิลลิเมตร ซึ่งก็เท่ากับแผลผ่าตัดต้อกระจกในปัจจุบัน
 
ที่สำคัญเลยก็คือ ตอนที่เราเข้าไปคลี่ ต้องคลี่ให้ถูกข้าง แล้วก็ใช้อากาศอัดเหมือนเดิม ให้มันติดกัน ชั้น 1, 2, 3 ของคนไข้ ชั้นที่ 4, 5 เราเอาออกไป แล้วเราเอาชั้นที่ 4, 5 เข้าไปใหม่ เพราะฉะนั้นก็จะแตกต่างจากวิธี DSAEK คือว่า ถ้าวิธี DSAEK เราต้องเอากระจกตาส่วนที่ 3 ของตาบริจาคบวก 4 บวก 5 เข้าไปเสริม เพราะฉะนั้นจะหนา กระจกตาที่ใส่เข้าไปจะหนากว่าวิธี DMEK ซึ่งเราเอาเฉพาะชั้นที่ 4 และ 5 เข้าไป
 
แต่ถ้าเราดูตามธรรมชาติ ตามปกติแล้ว วิธี DMEK จะเหมือนธรรมชาติมากที่สุด และการฟื้นตัวจะดีกว่า เร็วกว่าเยอะ เราบอกว่าวิธี DSAEK อาจจะประมาณ 3 เดือนในการใช้เวลาฟื้นตัว วิธี DMEK จะเพียงแค่ 1 เดือน แล้วก็แผลเล็กกว่า จาก 5 มิลลิเมตร ก็เป็น 3 มิลลิเมตร
 
และที่สำคัญคือต้านเรื่องของการต้านกระจกตา ถ้าเราบอกว่าวิธีดั้งเดิม 2 ปี เราพบว่าการต้านกระจกตาจากการศึกษาพบประมาณ 18% ในขณะที่วิธี DSAEK พบ 12% ใน 2 ปี วิธี DMEK พบน้อยกว่า 1% เพราะฉะนั้นจะ

“เป็นวิวัฒนาการการผ่าตัด ที่ทำให้คนไข้ได้ประโยชน์สูงสุด แล้วก็การฟื้นตัวเร็ว แผลบางคนอาจจะไม่ได้เย็บเลย หรือบางคนอาจจะเย็บแค่ไหมเส้นเดียว แล้วก็ไม่ว่า DSAEK หรือ DMEK ส่วนใหญ่ไหมเอาออกได้เร็ว ไม่เหมือนวิธีดั้งเดิม ซึ่งต้องรอนานเป็นหลายๆเดือน หรือเป็นปีเป็นหลายปี ซึ่งนับเป็นข้อดีมากๆเลยของวิธีการผ่าตัดแบบใหม่นี้”

บทความโดย : พญ. ภัทรมน บรรณประดิษฐ์