สาเหตุของสายตาเพลีย มีปัจจัยสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1. สภาวะแวดล้อม
1.1 แสงสว่างและทิศทางของแสงในขณะทำงาน ความเข้มของแสงที่ช่วยในการทำงาน ควรมีระดับที่พอเหมาะ
ไม่สว่างจ้าจนระคายตาหรือสลัวจนมองไม่ชัด สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือทิศทางของแสงสว่าง หากผู้ทำงานถนัดขวาแสงควรส่องมาทางซ้ายมือ เพราะหากแสงเข้ามาทางด้านหน้าแล้วตกกระทบลงบนสิ่งที่เรามอง แสงจะสะท้อนเข้าตาเราจึงทำให้เกิดอาการตาพร่าได้
ไม่สว่างจ้าจนระคายตาหรือสลัวจนมองไม่ชัด สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือทิศทางของแสงสว่าง หากผู้ทำงานถนัดขวาแสงควรส่องมาทางซ้ายมือ เพราะหากแสงเข้ามาทางด้านหน้าแล้วตกกระทบลงบนสิ่งที่เรามอง แสงจะสะท้อนเข้าตาเราจึงทำให้เกิดอาการตาพร่าได้
1.2 ลักษณะของงานที่ทำ หากเป็นสิ่งของที่มีขนาดเล็ก มีรายละเอียดมาก หรือใช้ตัวอักษรขนาดเล็กมาก
ทำให้ต้องเพ่งมองใกล้กว่าปกติเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น จึงทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานหนักเพื่อปรับภาพให้ชัดเจนจึงเกิดอาการตาเพลียได้ง่าย
ทำให้ต้องเพ่งมองใกล้กว่าปกติเพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น จึงทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานหนักเพื่อปรับภาพให้ชัดเจนจึงเกิดอาการตาเพลียได้ง่าย
1.3 สีสันของสิ่งที่มองหรืออ่าน หากสีกลมกลืนกับพื้นหลังทำให้ตาต้องใช้ความพยายามในการจำแนกมากขึ้น
1.4 การเคลื่อนไหวในขณะที่มอง กล้ามเนื้อตาต้องทำงานมากเพื่อจับภาพ ทำให้อาการสายตาเพลียเกิดได้บ่อยเช่น การอ่านหนังสือบนรถที่กำลังวิ่งอยู่ เป็นต้น
1.5 การที่มีลมโกรกตา อาจเป็นพัดลมหรือลมจากเครื่องปรับอากาศก็ทำให้เกิดอาการตาแห้งได้ สร้างความรำคาญในการอ่านหนังสือและต้องเพ่งมองมากขึ้นจนมีอาการเพลียได้
2. ความผิดปกติของตา
2.1 สายตายาว ทำให้กล้ามเนื้อภายในตาต้องหดเกร็งเพื่อปรับความชัดของภาพตลอดเวลา
ไม่ว่าจะดูในระยะไกลหรือใกล้
ไม่ว่าจะดูในระยะไกลหรือใกล้
2.2 สายตาผู้สูงอายุ เกิดกับผู้มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป ซึ่งมองใกล้ไม่ชัด ปวดตาง่าย เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อตาที่ทำหน้าที่ปรับความชัดของภาพจะมีความสามารถลดลงตามลำดับ
ต้องอาศัยแว่นช่วยในการทำงานที่ระยะใกล้จึงจะเห็นชัด และสบายตา
ต้องอาศัยแว่นช่วยในการทำงานที่ระยะใกล้จึงจะเห็นชัด และสบายตา
2.3 สายตาสั้นและเอียง ทำให้ภาพไม่คมชัด สมองจะแปรผลของภาพที่ได้รับลำบาก จึงเกิดอาการมึนงงได้ และการมองเห็นไม่ชัดนี้
มักไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อตาหดตัว เพื่อพยายามปรับความคมให้ชัดแต่ก็ไร้ผล
มักไปกระตุ้นให้กล้ามเนื้อตาหดตัว เพื่อพยายามปรับความคมให้ชัดแต่ก็ไร้ผล
2.4 ภาวะตาเหล่ซ่อนเร้น ทำให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลอกตาต้องเกร็งตัวดึงรั้งเพื่อปรับให้ตาทั้งสองข้างดูตรงอยู่ตลอดเวลา
2.5 ความไม่แข็งแรงของกล้ามเนื้อตาที่ทำหน้าที่ดึงลูกตาเข้าหากันเวลาดูในระยะใกล้
2.6 โรคตาบางชนิดที่อาจทำให้การมองเห็นไม่ปกติ เช่น โรคตาแห้ง ต้อหิน ต้อกระจก เป็นต้น
3. สาเหตุทางร่างกายและจิตใจ
การทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน ที่ต้องใช้สายตามากๆ หากพักผ่อนไม่เพียงพอก็จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ หรือหากมีอาการเครียด ก็จะทำให้มีอาการปวดบริเวณรอบๆดวงตา
หรือรู้สึกปวดร้าวไปที่ขมับและท้ายทอยได้ ทั้งนี้ อาการเหล่านี้จะดีขึ้น ถ้าได้นอนพักผ่อนหรือรับประทานยาแก้ปวด โดยสาเหตุของอาการเหล่านี้ จักษุแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยและแนะนำการรักษาที่ถูกต้องได้
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้สายตาได้เป็นปกติ ดังนั้น จึงควรพบแพทย์เมื่อมีอาการสายตาเพลีย
หรือรู้สึกปวดร้าวไปที่ขมับและท้ายทอยได้ ทั้งนี้ อาการเหล่านี้จะดีขึ้น ถ้าได้นอนพักผ่อนหรือรับประทานยาแก้ปวด โดยสาเหตุของอาการเหล่านี้ จักษุแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยและแนะนำการรักษาที่ถูกต้องได้
เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้สายตาได้เป็นปกติ ดังนั้น จึงควรพบแพทย์เมื่อมีอาการสายตาเพลีย
อาการ
เมื่อผู้ป่วยมีสายตาเพลีย อาจมีการมองเห็นภาพหรือตัวอักษรพร่าลายเป็นพักๆ หรือบางครั้งเห็นภาพซ้อนได้ นอกจากนี้อาจเกิดอาการปวดเมื่อยตา หนังตาหนัก เคือง ระคายตา แสบตา น้ำตาไหล
และบางครั้งมีอาการมึนศรีษะร่วมด้วยและมักมีอาการในช่วงบ่าย เพราะช่วงเช้าเป็นการเริ่มต้นทำงาน หลังจากได้พักผ่อนนอนหลับมาแล้ว กล้ามเนื้อทุกส่วนรวมทั้งสมองยังกระปรี้ประเปร่าเต็มที่
แต่พอช่วงบ่ายความล้าที่สะสมจากการใช้สายตาต่อเนื่องในช่วงเช้า ประกอบกับความเครียดและความเร่งรีบจากการทำงานและสภาพอากาศที่ร้อน ก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการสายตาเพลียได้ง่ายขึ้น
และบางครั้งมีอาการมึนศรีษะร่วมด้วยและมักมีอาการในช่วงบ่าย เพราะช่วงเช้าเป็นการเริ่มต้นทำงาน หลังจากได้พักผ่อนนอนหลับมาแล้ว กล้ามเนื้อทุกส่วนรวมทั้งสมองยังกระปรี้ประเปร่าเต็มที่
แต่พอช่วงบ่ายความล้าที่สะสมจากการใช้สายตาต่อเนื่องในช่วงเช้า ประกอบกับความเครียดและความเร่งรีบจากการทำงานและสภาพอากาศที่ร้อน ก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการสายตาเพลียได้ง่ายขึ้น
วิธีการรักษา
1. ควรไปตรวจกับจักษุแพทย์เพื่อทราบว่ามีสาเหตุจากโรคตาอื่นหรือไม่
2. การใช้สายตาอ่านหนังสือ หรือทำงานมากๆ ไม่ก่อให้เกิดอันตราย หรือเกิดโรคตาใดๆ รวมทั้งมิได้ทำให้สายตาแย่ลงเพียงแต่ทำให้ไม่สบายตา รู้สึกหงุดหงิด ประสิทธิภาพการทำงานลดลง
การรักษาที่ดีที่สุด คือ การป้องกันโดยการใช้แสงสว่างให้พอเหมาะและมีทิศทางที่ถูกต้อง สิ่งที่ดูควรมีระยะห่างจากตาประมาณ 35 เซนติเมตร และพักสายตาโดยการหลับตาหรือ
มองไกลประมาณ 20 ฟุต ทุก 20 นาที เป็นเวลา 20 วินาที ควรเปลี่ยนอิริยาบทเพื่อให้กล้ามเนื้อตาได้คลายตัวบ้าง การกระพริบตาบ่อยๆระหว่างทำงานก็จะช่วยให้ตาไม่แห้งและสามารถทำงานนาน ๆ ได้โดยไม่แสบตา
การรักษาที่ดีที่สุด คือ การป้องกันโดยการใช้แสงสว่างให้พอเหมาะและมีทิศทางที่ถูกต้อง สิ่งที่ดูควรมีระยะห่างจากตาประมาณ 35 เซนติเมตร และพักสายตาโดยการหลับตาหรือ
มองไกลประมาณ 20 ฟุต ทุก 20 นาที เป็นเวลา 20 วินาที ควรเปลี่ยนอิริยาบทเพื่อให้กล้ามเนื้อตาได้คลายตัวบ้าง การกระพริบตาบ่อยๆระหว่างทำงานก็จะช่วยให้ตาไม่แห้งและสามารถทำงานนาน ๆ ได้โดยไม่แสบตา
ปัจจุบันมีการใช้คอมพิวเตอร์กันแพร่หลาย ฉะนั้น ควรวางให้อยู่ในบริเวณที่ไม่มีแสงจากภายนอกสะท้อนเข้ามารบกวนตาขณะทำงาน ควรครอบหน้าจอด้วยแผ่นกรองแสงสะท้อนปรับความสว่างของจอให้มากกว่าความสว่าง
ในห้องประมาณ 3 เท่า ปรับระดับความสูงและมุมการมองของจอ รวมทั้งความสูงของคีย์บอร์ดและเก้าอี้ ควรมีพนักพิงหลังที่ดีเพื่อลดการปวดหลังและควรได้สัดส่วนที่พอเหมาะให้ผู้ใช้งานอยู่ในอิริยาบถที่สบายที่สุด
และตาควรอยู่ห่างจากจอประมาณ 30 - 35 เซนติเมตร และต้องพักสายตาเป็นระยะๆ
3. การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ รับประทานอาหารครบหมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอตลอดจนมีจิตใจแจ่มใส ย่อมเอื้ออำนวยให้สามารถใช้สายตาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น